Skip to content

Top Of The World

  • Home
  • sport news
  • technology
  • travel & lifestyle
  • world news

Top Of The World

Just another WordPress site

อัตราแลกเปลี่ยนส่งผลต่อการลงทุนอย่างไร

January 13, 2021 by admin

อัตราแลกเปลี่ยนส่งผลต่อการลงทุนอย่างไร หากใครที่ได้ติดตามข่าวเศรษฐกิจอยู่เป็นประจำ น่าที่จะเคยได้ยินคำว่า ‘เงินบาทแข็งค่าขึ้น’ หรือ ‘เงินบาทอ่อนตัวลง’ มาบ้าง แล้วเคยสงสัยหรือไม่ว่า เงินบาทแข็ง เงินบาทอ่อน คืออะไร เกี่ยวอะไรกับเรา และจะส่งผลต่อการลงทุนของเราอย่างไร สามารถหาคำตอบได้จากบทความนี้

อัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate) คือ ราคาของเงินสกุลหนึ่งเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง องค์ประกอบหลักของอัตราแลกเปลี่ยนจึงมี 2 ส่วนคือ เงินสกุลท้องถิ่นกับเงินสกุลต่างประเทศ ซึ่งสามารถแสดงราคาได้สองแบบ ดังนี้

แบบแรก ราคาเงินสกุลต่างประเทศที่แสดงเป็นเงินสกุลท้องถิ่น ส่วนแบบที่สองราคาเงินสกุลท้องถิ่นที่แสดงเป็นเงินสกุลต่างประเทศ เช่น เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับเงินบาท 33 บาท ในทางกลับกัน เงิน 1 บาท เท่ากับเงิน 0.03 ดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย การเติบโตทางเศรษฐกิจ และความต้องการซื้อขายสกุลเงิน ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้

-อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยที่สูงจะดึงให้เงินไหลเข้าประเทศ โดยธรรมชาติแล้วเงินจะไหลจากที่ที่ให้ผลตอบแทนต่ำไปหาที่ที่ให้ผลตอบแทนสูง ที่ใดให้ผลตอบแทนสูง เงินระยะสั้นจะไหลไปที่นั้น ส่งผลให้เงินสกุลที่มีดอกเบี้ยสูงแข็งค่าขึ้น หากเงินไหลเข้าอย่างต่อเนื่องค่าเงินก็จะแข็งค่าค่อนข้างมาก

-การเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจากปัจจัยนี้จะสะท้อนได้ว่า ประเทศที่มีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่า หรือมีอัตราการขยายตัวที่ดีกว่า มีแนวโน้มที่ธนาคารกลางจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อช่วยยับยั้งการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อ และจากปัจจัยข้างต้นที่กล่าวมาว่า อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะเป็นตัวดึงดูดกระแสเงินลงทุนจากต่างชาติเข้ามา และอุปสงค์ของเงินที่ค่อนข้างมากจะทำให้มูลค่าของเงินมากขึ้นด้วยนั่นเอง

-ความต้องการซื้อขายสกุลเงินมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน โดยเป็นเงินที่ไหลเข้ามาจากการค้าขาย การส่งออกสินค้า และจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศ เงินที่ไหลเข้าประเทศในส่วนนี้มีผลต่อค่าเงินบาทอย่างไร คำตอบคือ การทำธุรกรรมในประเทศไทยต้องใช้เงินบาท เงินสกุลต่างประเทศที่ไหลเข้ามาจึงต้องแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท เมื่อมีความต้องการซื้อสินค้า (ซึ่งหมายถึงเงินบาท) จากผู้ส่งออก หรือนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ราคาเงินบาทก็จะแพงขึ้นหรือแข็งค่าขึ้น

อัตราแลกเปลี่ยนส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อเศรษฐกิจไทย ในทางหนึ่ง อัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วหรือมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ประเทศสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านราคา (เพราะเงินบาทแพงขึ้น) หรือทำให้รายได้จากการส่งออกที่แปลงมูลค่าเป็นเงินบาทลดลง ส่งผลต่อเนื่องไปยังค่าจ้างของแรงงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก และอาจทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอลง เช่น หากธุรกิจส่งออกมีกำไรจากการขายสินค้าอยู่ที่ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ธุรกิจก็จะมีเงินกลับเข้ามาในประเทศที่ 33 ล้านบาท แต่ถ้าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็น 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (เงินบาทแข็ง คือ ใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเงินสกุลต่างประเทศ) ธุรกิจจะเหลือเงินกลับเข้ามาในประเทศเพียง 30 ล้านบาท ดังนั้นสำหรับธุรกิจส่งออกและท่องเที่ยวจะชอบค่าเงินอ่อนมากกว่าค่าเงินที่แข็ง

อย่างไรก็ตาม ในทางตรงกันข้าม อัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นจะมีส่วนช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าของผู้ผลิต รวมถึงมีส่วนช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพของผู้บริโภคอีกด้วย โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาพลังงานในตลาดโลกปรับขึ้นเร็ว เช่น หากธุรกิจที่ต้องนำเข้าสินค้ามาจากต่างประเทศ สมมติว่าต้นทุนสินค้าอยู่ที่ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ธุรกิจจะต้องจ่ายเงินค่าต้นทุนนำเข้าสินค้าที่ 30 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากเงินบาทอ่อนค่าลงเป็น 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (เงินบาทอ่อน คือ ใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลกเงินสกุลต่างประเทศ) ธุรกิจจะต้องจ่ายเงินค่าต้นทุนสินค้าเป็นเงินถึง 33 ล้านบาท จะเห็นว่าต้องจ่ายแพงกว่าถึง 3 ล้านบาท ดังนั้นสำหรับธุรกิจที่นำเข้าสินค้ามาจากต่างประเทศจะชอบค่าเงินที่แข็งมากกว่าค่าเงินอ่อน

อัตราแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจส่งออก/นำเข้าต้องเผชิญ โดยการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะมีผลให้กระแสรายได้หรือรายจ่ายในรูปเงินบาทของธุรกิจมีความไม่แน่นอน ซึ่งอาจทำให้เกิดกำไรเพิ่มขึ้น หรือขาดทุนก็ได้ อย่างไรก็ตาม ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนนั้น เป็นสิ่งที่ยากต่อการคาดเดา เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในประเทศ นโยบายการเงินและการคลัง ภาวะเศรษฐกิจโลก การคาดการณ์และการเก็งกำไร เสถียรภาพการเมืองในประเทศและต่างประเทศ จิตวิทยาตลาด และข่าวลือต่างๆ

แม้ว่าธุรกิจจะไม่สามารถควบคุมความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้ แต่ก็สามารถบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยใช้เครื่องมือต่างๆ ที่เหมาะสมในการป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้า เช่น การทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เพื่อให้สามารถบริหารจัดการรายได้และต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Post navigation

Previous Post:

ใส่0จนตาลาย! “อีลอน มัสก์”แซงขึ้นแท่นรวยสุดในโลก

Next Post:

คอนเต พูดถึงอนาคตของ เอริกเซน หลังมีข่าวลืออยากย้ายทีม

Recent Posts

  • Nissan ออกแบบรถตู้สำนักงานเคลื่อนที่สำหรับยุค ‘ทำงานจากที่บ้าน’
  • ลอสแองเจลิสยกข้อ จำกัด คุณภาพอากาศสำหรับการเผาศพท่ามกลางซากศพที่เกิดจาก COVID-19
  • โรงแรมภาคอีสาน : Avani Khon Kaen Hotel & Convention Centre
  • การกู้ยืมของสหราชอาณาจักรแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
  • เกมโตเกียวที่กำหนดใหม่อาจต้องจัดขึ้นหลังประตูที่ปิด

Recent Comments

  • A WordPress Commenter on Hello world!

Archives

  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • February 2020
© 2021 Top Of The World | WordPress Theme by Superbthemes